บริการซ่อมบำรุงอาคาร: วิธีเช็คไฟรั่ว อย่างปลอดภัยด้วยไขควงเช็คไฟรั่ว หลาย ๆ คนคงคุ้นหูกับคำว่าไขควงลองไฟ หรือไขควงวัดไฟกันมาบ้างแล้ว โดยเครื่องมือชิ้นนี้ถือเป็น อุปกรณ์เช็คไฟรั่ว ที่ควรมีไว้ติดบ้านมาก ๆ เลยครับ เพราะ ไขควงเช็คไฟรั่ว นี้ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อตรวจสอบสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านว่ามีปัญหาไฟรั่วหรือไม่ เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ราคาถูก และที่สำคัญคือใช้งานง่ายมาก ๆ โดยไขควงวัดไฟนี้สามารถแบ่งได้สองแบบ คือ ไขควงวัดไฟแบบธรรมดาที่มีหลอดไฟอยู่ที่ด้ามจับ และไขควงวัดไฟแบบตัวเลขดิจิตอล ซึ่งมีวิธีใช้งานดังนี้
1. ไขควงเช็คไฟรั่ว แบบธรรมดาจะประกอบด้วยหลอดนีออนต่ออยู่กับความต้านทานค่าสูง โดยความต้านทานนี้จะทำหน้าที่จำกัดปริมาณกระแสไฟที่จะไหลผ่านหลอดนีออนและร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายขณะใช้งาน หากนำไปแตะกับส่วนที่มีไฟจะถือเป็นการต่อไฟครบวงจร ไฟฟ้าจะไหลจากปลายไขควงวัดไฟผ่านหลอดนีออน ตัวต้านทาน มือและร่างกายลงสู่พื้นดินที่ยืนอยู่
หากมีไฟรั่วหรือแรงดันสูงหลอดนีออนตรงปลายไขควงก็จะสว่างขึ้นครับ โดยไขควงลองไฟทั่วไปมักจะมีปุ่มที่บริเวณด้านบน หรือเป็นแบบคลิปหนีบปากกาสำหรับให้ใช้นิ้วแตะเพื่อให้ไฟไหลครบวงจรผ่านร่างกาย ไฟนีออนจึงจะติดแดงขึ้นมาได้
2. ควรเลือกใช้ไขควงวัดไฟให้เหมาะสมกับชนิดของไฟฟ้า ซึ่งจะมีไฟฟ้ากระแสตรง DC แบบที่ใช้ในรถยนต์ และไฟฟ้ากระแสสลับ AC ที่มาจากการไฟฟ้าฯ เพื่อใช้งานทั่วไปภายในอาคารบ้านเรือนครับ
3. นอกจากชนิดของไฟฟ้าแล้ว ขนาดแรงดันไฟฟ้าก็ต้องพอเหมาะ ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป การวัดไฟฟ้าในบ้านที่ใช้ไฟ 200 – 250 โวลต์ แต่ใช้ไขวงวัดไฟสำหรับแรงดัน 80 – 125 โวลต์ อาจทำให้รู้สึกว่ามีไฟรั่วผ่านไขควงมากเวลาสัมผัส และไม่ปลอดภัยนัก
4. วิธีเช็คไฟรั่ว ด้วยไขควงวัดไฟต้องระมัดระวังไม่ไปแตะหรือสัมผัสส่วนเปลือยของไขควง หรือควรเลือกใช้ไขควงวัดไฟที่มีฉนวนหุ้มให้เหลือเฉพาะส่วนปลายที่ต้องใช้สัมผัสวัตถุ เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจรครับ
5. การใช้ ไขควงเช็คไฟรั่ว ที่ถูกต้องคือการใช้ปลายไขควงแตะลงบนวัตถุที่ต้องการทดสอบก่อน จากนั้นใช้นิ้วแตะที่ปุ่มด้านบน หรือตรงคลิปหนีบให้ครบวงจร และผู้ทดสอบต้องไม่สวมรองเท้าหรือยืนอยู่บนฉนวน เพราะอาจทำให้ไฟไม่ติด และอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่าไม่มีไฟรั่วได้ครับ
6. ขณะใช้งานไขควงวัดไฟต้องระมัดระวังไม่ให้ไขควงไปแตะหรือสัมผัสถูกส่วนที่เป็นขั้วไฟคนละชั้วพร้อมกัน โดยเฉพาะในพื้นที่แคบ ๆ ที่อาจมีขั้วไฟต่างเฟส หรือขั้วไฟ ขั้วดิน และขั้วนิวทรอลอยู่ใกล้ ๆ กัน เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรจนมีประกายไฟพุ่งอย่างรุนแรง เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานมาก ๆ ครับ
7. ห้ามนำไขควงวัดไฟไปใช้ทดสอบกับไฟฟ้าที่ไม่รู้ค่าแรงดัน หรือไฟฟ้าแรงดันสูงโดยเด็ดขาด
8. สำหรับไขควงวัดไฟที่ไม่ได้มีการใช้งานมานาน หลอดไฟนีออนหรือตัวต้านทานที่อยู่ภายในอาจชำรุด หรือหากเป็นไขควงวัดไฟแบบดิจิตอล ไฟแสดงผลก็อาจไม่ทำงาน ดังนั้นก่อนการใช้งาน ไขควงเช็คไฟรั่ว ทุกครั้งจึงควรทดสอบอุปกรณ์กับส่วนที่รู้แน่ชัดอยู่แล้วว่ามีไฟเสีย เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของไขควงวัดไฟเสียก่อนครับ
9. ในกรณีที่ทดสอบแล้วพบว่าไขควงวัดไฟชำรุด ห้ามนำไขควงวัดไฟนั้นไปซ่อมหรือดัดแปลงเพื่อนำกลับมาใช้งานใหม่เด็ดขาดครับ
ปัญหาไฟรั่วในบ้านป้องกันได้อย่างไร
แม้ว่าปัญหาไฟฟ้ารั่วจะสามารถแก้ไขได้ แต่การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นก่อนย่อมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเสมอครับ เช่นเดียวกันกับการป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วภายในบ้านที่กันไว้ดีกว่าแก้ เพราะปัญหาจากไฟรั่วอาจสร้างความเสียหายได้อย่างมหาศาล ซึ่งการป้องกันปัญหาไฟรั่วในบ้านก็สามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้ครับ
1. ติดตั้งระบบไฟฟ้าที่มีสายดิน เพื่อช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของอันตรายจากไฟฟ้ารั่วที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยสัญลักษณ์ของสายดินคือจะเป็นสายสีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง ส่วนที่เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นให้เลือกแบบที่เต้าเสียบเป็นแบบสามขา เพื่อใช้กับเต้ารับแบบสามรูครับ
2. ติดตั้ง อุปกรณ์เช็คไฟรั่ว และป้องกันไฟรั่ว หรือ RCD ไว้ภายในบ้าน ซึ่งจะช่วยตัดไฟเมื่อเกิดไฟรั่วจนถึงค่ากระแสรั่วที่กำหนดโดยอัตโนมัติ
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือจุดติดตั้งระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโลหะในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือยืนอยู่บนพื้นผิวที่เปียกแฉะครับ
4. เลือกใช้วัสดุปูพื้นที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น แผ่นยาง แผ่นพลาสติก แผ่นไม้แห้ง เป็นต้น หรือหากต้องซ่อมแซมงานระบบไฟฟ้าก็ให้หาวัสดุเหล่านี้มาปูพื้นและยืนบนนั้นขณะซ่อมแซมเพื่อความปลอดภัยครับ
5. หากสงสัยว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือจุดติดตั้งระบบไฟฟ้าในบ้านมีไฟรั่วหรือไม่ ควรทำการทดสอบด้วย ไขควงเช็คไฟรั่ว อย่างถูกวิธี ไม่ควรไปสัมผัสบริเวณจุดต้องสงสัยโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในชีวิตนั่นเองครับ